เนื่องจากกระแสบุหรี่ไฟฟ้าที่กำลังมาแรง ทำให้มีจำนวนผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นมาจำนวนมาก ทำให้ผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าบางท่านยังไม่เข้าใจวิธีการดูแลรักษาบุหรี่ไฟฟ้าที่ถูกต้อง ดังนั้นวันนี้ทางเราจึงได้นำบทความที่น่าสนใจเกี่ยวกับการดูแลรักษาบุหรี่ไฟฟ้าเบื้องต้นมาฝากผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าทุกท่านกัน
ก่อนอื่นเรามารู้จักกับส่วนประกอบของบุหรี่ไฟฟ้ากันก่อน โดยทั่วไปบุหรี่ไฟฟ้าสามารถแยกชิ้นส่วนออกมาได้ 3 ส่วน ได้แก่
- แบตเตอรี่ (Battery) เป็นส่วนที่ถือเป็นตัวบุหรี่เลยก็ว่าได้ โดยปกติมีความยาวราว 55 – 80 มิลลิเมตร ส่วนปลายมักจะติดไฟแสดงสถานะการทำงานและแจ้งเตือนระดับแบตเตอรี่ไว้
- ส่วนของตัวสร้างควันและความร้อน หรือ อตอไมเซอร์ (Atomizer) คือ ส่วนตรงกลางระหว่างแบตเตอรี่และส่วนปากดูด จะมีไมโครชิพ (Microchips circuit) ควบคุมการทำงานและขดลวดอิเล็กทรอนเพื่อเปลี่ยนน้ำยา (e-liquid/e-juice) ให้กลายเป็นละอองน้ำและสร้างกลิ่นบุหรี่เสมือนจริงขึ้นมา
- ส่วนเก็บน้ำยา (Cartridge) หรือส่วนปากดูด (Mouth piece) จะมีรูปร่างคล้ายปากเป็ดหรือทรงกระบอกที่อีกด้านมีกระเปาะใส่วัสดุซับน้ำยาไว้
การบำรุงรักษาเบื้องต้นที่ควรทราบ
1. เก็บรักษาบุหรี่ไฟฟ้าให้ถูกวิธี
เนื่องจากตัวบุหรี่ไฟฟ้ามีส่วนประกอบที่ละเอียดอ่อน การเก็บรักษาที่ผิดวิธีอาจส่งผลต่อการทำงานของบุหรี่ไฟฟ้าได้โดยตรง การระมัดระวังในการเก็บรักษาบุหรี่ไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมอยู่ตลอดจึงนับว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมากเรื่องหนึ่งเลยทีเดียว
- ไม่ควรเก็บไว้ในบริเวณที่มีน้ำหรือความชื้น หรือในที่ๆ มีแสงแดดส่องโดยตรงและมีอุณหภูมิสูงมากเกินไป
- ควรวางในลักษณะตั้งตรง เพื่อไม่ให้น้ำยาที่ใส่อยู่ในอุปกรณ์รั่วซึมออกมา
- หากจะพกพาไปข้างนอกหรือพกพาไปในทริปเดินทางไกลๆ ควรเก็บไว้ในกระเป๋าเฉพาะที่สามารถลดแรงกระแทกที่จะเกิดขึ้นกับตัวอุปกรณ์ในระหว่างเดินทางได้
2. ดูแลรักษาแบตเตอรี่ให้ดี
เพราะแบตเตอรี่คือส่วนสำคัญที่คอยจ่ายพลังงานให้แก่อุปกรณ์ การดูแลรักษาแบตเตอรี่ให้ดี จะทำให้เราแน่ใจว่าสามารถใช้อุปกรณ์ไปได้อย่างเต็มประสิทธิภาพตลอดอายุการใช้งาน
- พยายามไม่ให้แบตเตอรี่หมดจนเกลี้ยง หมั่นชาร์จให้แบตมีพลังงานขั้นต่ำ 30 % อยู่เสมอ เพื่อให้แบตมีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น
- หมั่นใช้ผ้าแห้งสะอาดเช็ดทำความสะอาดอยู่เสมอเพื่อลดคราบสกปรกที่เกาะอยู่กับตัวแบตเตอรี่ เพื่อให้ไม่มีคราบตกค้างที่ก่อให้เกิดประจุตกค้างหลังการชาร์จประจุ แนะนำว่าควรทำความสะอาดแบตเตอรี่ก่อนเสียบชาร์จทุกครั้งจะดีที่สุด
3. ไม่เติมน้ำยามากหรือน้อยจนเกินไป
เพราะการเติมน้ำยาน้อย อาจส่งผลให้ส่วนอตอไมเซอร์เสียหายจากการดูดน้ำยาไม่เพียงพอ และการเติมจนล้นก็จะทำให้น้ำยาล้นเข้าไปทำความเสียหายในตัวเครื่องได้
4. หมั่นรักษาความสะอาดของส่วนอตอไมเชอร์และส่วนปากดูดอยู่เสมอ
เพื่อคงประสิทธิภาพการทำงาน และยืดอายุการใช้งานของตัวอตอไมเซอร์ นอกจากนั้นการให้ส่วนปากดูดที่เป็นส่วนที่ร่างกายเราต้องสัมผัสตลอดสะอาดอยู่เสมอ ก็จะช่วยลดความเสี่ยงจากการมีเชื้อแบคทีเรียสะสมได้ด้วย
- การทำความสะอาดแต่ละครั้งให้แยกชิ้นส่วนแต่ละส่วนออกจากกันตามคำแนะนำในคู่มือของอุปกรณ์อย่างเคร่งครัด และหากมีน้ำยาเหลือให้เทออกมาก่อน เพื่อที่จะสามารถทำความสะอาดอุปกรณ์ได้อย่างทั่วถึง
- ก่อนจะประกอบอุปกรณ์กลับทุกครั้ง ต้องมั่นใจว่าชิ้นส่วนทุกชิ้นแห้งสนิทและไม่มีความชื้นหลงเหลือ เพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายอันไม่พึงประสงค์แก่ตัวอุปกรณ์ของท่านเอง
- ในการประกอบและแยกชิ้นส่วนของอุปกรณ์แนะนำให้ประกอบโดยใช้มือ ไม่แนะนำให้ใช้อุปกรณ์อื่นๆช่วย เพราะชิ้นส่วนของอุปกรณ์มีความละเอียดอ่อน รวมไปถึงการใช้อุปกรณ์ช่วยอาจทำให้ชิ้นส่วนถูกประกอบเข้าด้วยกันแน่นเกินไป และก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นได้